วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

   สรุปวิจัย        เรื่อง  การพัฒนารูปแบบการเรียนสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล
                       ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  ศศิธร จันทมฤก  ปีการศึกษา 2554


วัตถุประสงค์
        
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ในการเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล
2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการศืบสอบความรู้ส่วนบนของฟอร์ม

สมมติฐานการวิจัย

      แนวคิดในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากประสบการณ์ได้รับ เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ แล้วกระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดเกี่ยวกับประสบการณ์นั้นออกมาเพื่อพัฒนาความคิด เจตคติและทักษะใหม่ นำไปสู่ความรู้ใหม่ 

ตัวแปรการศึกษา

ตัวแปรต้นการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์มี 2 วิธี 
1  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์เด็กอนุบาล
2  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติ

ตัวแปรตาม  จิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 3 ด้าน
1 ความสนใจใฝ่รู้
2 ความมรเหตุผล
3 ความซื่อสัตย์

ขอบขายงานวิจัย
         ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาล ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่เปิดสอนระดับอนุบาลและมีทิศทางพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาในอนาคตมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์
ส่วนล่างของฟอร์ม

ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมในวิจัย


ผลการวิจัย 
     เด็กอนุบาลที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน  ตามเเนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ มีความสนใจ สูงกว่าเด็กอนุบาลที่ไม่ได่เรียนโดยใช้ณุปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ



สรุปบทความ           เรื่อง ทำไมการศึกษาวิทยาศาสตร์ปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญ  

⇨  การศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างไร
              สำหรับเด็กวัยเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเพียงส่วนขยายของโลกในชีวิตประจำวันของพวกเขา เราไม่จำเป็นต้องสอนเด็กเล็กว่าจะค้นพบและสำรวจผ่านการเล่นเพราะทำตามธรรมชาติได้อย่างไร      การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะเรียนรู้วิธีสร้างประสบการณ์ที่น่าทึ่งซึ่งกระตุ้นให้เกิดการค้นพบผ่านการเล่นถามคำถามการสำรวจและการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาง่ายๆ เป็นไปไม่ได้ที่จะลบประสบการณ์ที่ไม่ดี ด้านพลิกกลับประสบการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจกลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าจดจำซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ต้องการเรียนรู้และสำรวจสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง เมื่อพูดถึงการสอนวิทยาศาสตร์นักการศึกษาปฐมวัยมีผลกระทบอย่างมากและมีอิทธิพลต่อการสร้างความคิดและความคิดเห็นของเด็ก ๆ 


⇨ เมื่อใดก็ตามที่คุณพูดในที่ประชุมคุณจะบอกกับผู้ชมว่า "ถ้าไปที่โต๊ะกินข้าวคุณก็ชนะ" ในแง่ของการสอนวิทยาศาสตร์คุณหมายถึงอะไร
          เป็นวลีที่อาจารย์ใหญ่  เมื่อฉันสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ถ้าสิ่งที่คุณสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากจนน่าตื่นเต้นที่นักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้กับพ่อแม่และพี่น้องของพวกเขาที่โต๊ะอาหารค่ำในคืนวันนั้นคุณชนะในฐานะครู ในยุคที่เด็กถูกทิ้งระเบิดด้วยกิจกรรมและ "สิ่งต่างๆ" ที่ต้องทำการสร้างประสบการณ์ทำให้คุณแตกต่างจากทุกสิ่งทุกอย่าง มีครูที่ดีและมีครูที่ยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง การทำความเข้าใจความแตกต่างในรูปแบบการเรียนการสอนเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้วิธีเปลี่ยนช่วงเวลาธรรมดาให้เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลืมไม่ได้



Diary No.15
Friday,  23 November 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.






Story of subject  (เนื้อหาที่สอน)
         วันนี้เป็นครั้งสุดท้ายของการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนการสอนตลอดเทอม แล้วได้ให้คำแนะนำการทำ blog ว่าต้องทำดี ๆ รวมทั้งบอกข้อสอบแนวข้อสอบปลายภาค และมอบหมายงานให้ทุกกลุ่มที่จัดทำคลิปวีดีโอโดยใช้โปรแกรม Biteable ส่วนสำคัญที่ต้องใส่วีดีโอ คือ แนะนำและสรุป  งานอย่างที่สอง นำสื่อวิชานวัตกรรมให้เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ ที่จัดทำขึ้นกับเด็ก
     
                                            โครงการวิทยาศาสตร์ ฐาน ที่ ความรับของสีดำ 


                                            




ชีวิตประจำวันของหนู



ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม
          ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเล่านิทาน หรือ การทำสื่อของเล่น
          ได้ระดมความคิด ในการทำสื่อแบบใหม่ในเรื่องของกิจวัตรประจำวัน
          ได้นำเสนออาจารย์ เกี่ยวกับสื่อนวัตกรรมชิ้นนี้
พอได้เรื่องที่สนใจ ก็หาวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อชิ้นนี้
           เริ่มจากการนำไม้มาประกอบให้เข้ากัน โดยทำแบบกล่องละคร   มีขา ๔ ขา
 ทาสี เก็บรายละเอียดต่างๆให้เรียบร้อย
 ทำตัวละครในการดำเนินเรื่องราว
 ทำฉากที่เด็กคุ้นชิน และ ต้องพบเจอ
 นำแม่เหล็กมาติดกับตัวละคร และ สิ่งที่จะทำให้ตัวละครมีการเคลื่อนไหว
 ทดลองการเล่น และ เก็บรายละเอียดต่างๆ

ประโยชน์ของนวัตกรรม
         นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นสื่อในรูปแบบใหม่ และยังเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เราจะสอน และยังทำให้เด็กได้ลงมือที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  นวัตกรรมชิ้นนี้ยังส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ  และสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปบูรณาการสอนได้ในหลายๆวิชา

***เป็นสิ่งแปลกใหม่ไปจากเดิมอาจจะเกิดจากการคิดค้นขึ้นเอง หรือจากการดัดแปลงของเดิมหรือจากการปรับปรุงแต่งของเดิม 

Teaching methods (วิธีการสอน)

    อาจารย์ก็แนะนำ วิธีการ  เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนอนาคต           

Apply (การนำไปใช้)

                ได้นำวิธีการที่ถูกต้อง เทคนิค นำไปปรับใช้ได้

Assessment (การประเมินผล)

        Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
        Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
        Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม






Diary No.14
Friday, 9 November 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.




Story of subject  (เนื้อหาที่สอน)


       อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ 1 เรื่อง โดย กลุ่มของดิฉัน ทำเรื่อง ดอกมะลิ  ก่อนการเขียนแผน อาจารย์ให้ทำเป็นมายแมบก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนแผนได้ง่ายขึ้น เพื่อให้รู้แนวทางในการเขียนแผน  


   แผนผังเรื่อง ผีเสื้อ

                              



แผนผังเรื่อง ผีเสื้อ

   นอกจากนั้นอาจารย์ยังให้แต่ล่ะกลุ่มทำแผนการสอนคนล่ะวัน โดยให้แบ่งกลุ่มแล้วเขียนแผนคนล่ะวัน ให้เขียนแผนจัดประสบการณ์เด็ก

ภาพกิจกรรม



Teaching methods (วิธีการสอน)
                อาจารย์ก็แนะนำวิธีที่ถูกต้องให้   เพื่อให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเวลาเรานำไปสอนได้มากขึ้น            
Apply (การนำไปใช้)
                ได้นำวิธีการที่ถูกต้อง มีหลักการ ไปปรับใช้ได้   
  
Assessment (การประเมินผล)
        Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
        Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
        Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม



Diary No.13
Friday, 9 November 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.



Story of subject  (เนื้อหาที่สอน)


อาจารย์เปิดคลิปวีดีโอให้ดู เรื่อง ความลับของแสง .ให้ศึกษาจากคลิปวีดีโอ และตั้งคำถามร่วมกันในการจัดประสบการณ์ มีดังนี้ 
-คุณสมบัติของแสง

-วัสดุที่แสงกระทบ
-กล้องรูเข็ม
-การหักเหของแสง
-การสะท้อนของแสง
-การเกิดเงา
-การเกิดรุ้งกินน้ำ

 แสง =  เดินทางเป็นเส้นตรง และ สามารถผ่านสูญญากาศได้
  
การเดินทางของเเสง = วัตถุที่แสงผ่านเป็นเส้นตรงได้ เรียกว่า “ วัตถุโปร่งใส “
วัตถุที่แสงผ่านแล้วเกิดการกระจายและทำให้แสงไม่เป็นเส้นตรง เรียกว่า “ วัตถุโปร่งแสง “
วัตถุบางชนิดที่ไม่มีแสงผ่านได้ เรียกว่า “ วัตถุทึบแสง “ 

การหักเหของแสง = การที่แสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปอีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะต่างกัน จะทำให้แสงเกิดการหักเหเกิดขึ้น 

การสะท้อนของแสง  = เมื่อแสงกระทบอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแสงเกิดการสะท้อนกลับ และเมื่อเกิดการสะท้อนกลับมุมที่สะท้อนมีขนาดเท่ากันเสมอ 

ปรากฎการณ์รุ้งกินน้ำ = เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ทำหน้าที่หักเหแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า เรียกว่าการกระจายแสง

กล้องคาไลโดสโคป = คือ เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุและสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาจนเกิดเป็นลวดลายที่สวยงามไปเรื่อยๆ 

กล้องแปริสโคป  = คือ ให้ช่องที่ปลายด้านหนึ่งเป็นช่องแสงเข้า ช่องที่ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นช่องสำหรับมอง แสงจากวัตถุจะเข้าทางช่องแสงเข้าเกิดการสะท้อนกระจกลงมาตามลำกล้อง และสะท้อนกระจกเข้าสู่ตาของผู้ที่ดู ทำให้สามารถเห็นวัตถุที่อยู่สูงกว่าระดับสายตา หรือถูกสิ่งกีดขวางบังอยู่

       



 ภาพกิจกรรม



 Teaching methods (วิธีการสอน)
                อาจารย์แนะนำวิธีที่ถูกต้องให้   เพื่อให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเวลาเรานำไปสอนได้มากขึ้นไป

Apply (การนำไปใช้)
                ได้นำวิธีการที่ถูกต้อง มีหลักการ     

Assessment (การประเมินผล)
        Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
        Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
        Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม


Diary No.12
Friday, 2 November 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.


Story of subject  (เนื้อหาที่สอน)

          วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอคลิปการทดลองบ้านวิทยาศาสตร์กลุ่ม เพื่อนำไปจัดฐานกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ และขอติชมเกี่ยวกับการนำเสนอคลิปว่าควรนำเสนอแบบไหนเพื่อนำไปปรับใช้ มีดังนี้ 

กลุ่ม ติด จับ ดับ ต่อ
    แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไหลครบวงจรจึงทำให้ไฟฟ้าติดและเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนวัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าเรียกกว่า ฉนวน 


กลุ่ม ปริศนา co2
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับคลิป ว่า การสอนต้องเรียงจากซ้ายไปขวา  การใช้คำพูดมาตรฐานของวีดิโอ ขณะการทดลองควรมีผ้าหรือกระดาษทิชชู

กลุ่ม น้ำนิ่งไหลลึก
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่า ควรมีไม้ชี้ในแต่ละขั้นตอนที่ทดลอง  เมื่อเริ่มการทดลองให้นำของที่ไม่เกี่ยวออก ในแต่ละช่วงการทดลองนำเปลี่ยนรูปตามภาชนะ ไม่ต้องพูดถึงปริมาณของน้ำที่แตกต่างกัน

กลุ่ม ความลับของสีดำ
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ สีดำทำมาจากอะไร ควรสอนวิธีการทดลอง ให้เด็กคาดคะเน โดยตั้งสมมติฐาน ถ้าให้ปากกาเมจิสีดำระบายรอบวงของกรัดาษกรองจะเกิดอะไรขึ้น



วีดีโอ คลิป ความลับของสีดำ





ภาพ วีดีโอ กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์















Teaching methods (วิธีการสอน)
               
 อาจารย์ก็แนะนำเกี่ยวกับวิธีการ  การทำคลิป การนำเสนอ  เพื่อให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเวลาเรานำไปสอนได้มากขึ้น            

Apply (การนำไปใช้)
               
 ได้นำวิธีการที่ถูกต้อง นำไปปรับใช้ในอนาคต     

Assessment (การประเมินผล)
      
  Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
  Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม

    

Diary No.11 
Friday, 26 October 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

                                                     

Story of subject  (เนื้อหาที่สอน)

           วันนี้อาจารย์ได้เปิดคลิปการทดลองบ้านวิทยาศาสต์ของเพื่อนแต่ละคน พร้อมอธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับคลิปของเพื่อน ๆ  โดยดูคลิปของเพื่อน ๆ ดังนี้
เปิดปิด สวิตช์มีหน้าที่อะไร
นางสาว ปรางทอง สุริวงษ์

ประเด็นปัญหา  :  อะไรบ้างที่ทำให้เกิดไฟฟ้า
สมมุติฐาน         :  ถ้าเอาลวดมาต่อจะเกิดอะไรขึ้น แล้วถ้าเอากระดาษลูกฟูมาต่อวงจรจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป                   : ไฟติดเพราะต่อครบวงจร และลวดโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าจึงติด เมื่อนำกระดาษลูกฟูมาต่อ ปรากฏว่าไม่ติดทั้งๆที่ต่อครบวงจร เพราะกระดาษลูกฟูไม่นำไฟฟ้า

                                                    เมล็ดถั่ว เต้นระบำ
                                                             นางสาวบงกชกมล ยังโยมร      

ประเด็นปัญหา  : น้ำอะไรที่ทำให้ถั่วเขียวลอยได้
สมมุติฐาน         : ถ้านำถั่วเขียวใส่ในน้ำเปล่าจะเกิดอะไรขึ้น และถ้านำถั่วเขียวใส่โวดาจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป                  : ถั่วเขียวไม่ลอยในน้ำเปล่า แต่เมื่อนำถั่วเขียวใส่ในน้ำโซดา เกิดการลอยและเกิดฟอง เพราะในน้ำโซดา มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คาร์บอนไดออกไซ
นางสาวมารีน่า ดาโร๊ส

ประเด็นปัญหา   :   เราจะดับไฟได้อย่างไร
 สมมุติฐาน        :   ถ้านำแก้วมาครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป                 :    เมื่อนำแก้วมาครอบเทียนไฟดับ เพราะอากาศข้างในค่อยๆหมดไปเลยทำให้ไฟดับลง

                                            นำ หรือ ไม่นำไฟฟ้า
                                          นางสาวณัฐธิดา บุญทอง
 ประเด็นปัญหา  : กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
 สมมุติฐาน        :  ถ้านำช้อน ยางลบ มาต่อจะเกิดอะไรขึ้น
  สรุป                 :  เมื่อนำช้อนมาต่อไฟฟ้าติด เพราะช้อนเป็นโลหะ และเมื่อนำยางลบมาต่อไฟฟ้าไม่ติด เพราะกระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเมื่อเราต่อครบวงจร
                                                         การหักเหของน้ำ                                                  
      นางสาวสุจิณณา พาพันธ์
 ประเด็นปัญหา   :  อะไรที่ทำให้น้ำไม่หกออกมา
 สมมุติฐาน          :  ถ้าเราเอากระดาษปิดแล้วคว่ำแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
  สรุป                   :  นำไม่หกเพราะน้ำดันอากาศไว้เลยทำให้น้ำไม่หก

ภาพกิจกรรม 





Teaching methods (วิธีการสอน)
                
อาจารย์ให้แนะนำวิธีการที่ถูกต้อง   เพื่อให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเวลาเรานำวิธีการทดลองไปสอนเด็กได้มากขึ้น            

Apply (การนำไปใช้)
                
ได้นำวิธีการที่ถูกต้อง  สามารถนำไปปรับใช้ได้     

Assessment (การประเมินผล)
        
Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน สนุกกับการเรียน ร่วมตอบคำถามกับเพื่อน
Friend : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ที่สอน และ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
Teacher : อธิบายได้เข้าใจ เปิดโอกาสให้ถาม และตอบคำถาม